![]() | |
10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการใน 4 ปี ข้างหน้า
นักวิชาการ สสค. เปิด 10 ทักษะที่ตลาดแรงงานทั่วโลกต้องการใน 4 ปี ข้างหน้า แนะมาตรการ 3 ระยะที่รัฐบาลต้องรองรับผลกระทบการจ้างงาน วันที่ 25 มกราคม 2559 ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานโลกว่า ในการประชุมเวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มในปีนี้ (World Economic Forum 2016) ที่กำลังเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ วาระการประชุมสำคัญของผู้นำจากทั่วโลกในปีนี้ คือ การเตรียมความพร้อมกำลังคน และระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อรองรับความท้าทายจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและตลาดแรงงานของโลกครั้งสำคัญจาก ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 5 ด้านได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) พันธุวิศวกรรม (Genetics) นาโนเทคโนโลยี การพิมพ์สามมิติ และไบโอเทคโนโลยี ส่งผลต่อการผลิตและการจ้างงานในอัตราเร่งที่น่ากังวลอย่างมาก ดร.ไกรยส กล่าวว่า รายงานอนาคตของการทำงานที่ เวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มทำการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และทำนายความต้องการของตลาดแรงงานในอีก 5 ปีข้างหน้า พบว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 จะมีทั้งคุณและโทษต่อตลาดแรงงาน เพราะนอกจากจะสร้างโอกาสการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ยังเปลี่ยนวิธีการทำงานและทำลายตำแหน่งงานจำนวนมาก ปรากฏการณ์ที่เด่นชัดที่สุด คือ บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่สุด 500 อันดับแรกของประเทศสหรัฐอเมริกามากกว่าครึ่งหนึ่งหายไปจากการจัดอันดับภายใน เวลาเพียง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่แทนที่มนุษย์ ทำให้เกิดภาวะการถูกเลิกจ้างงาน รวมทั้งผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับตัวไม่ทันต้องปิดกิจการลงเป็นจำนวนมาก ขณะที่ทักษะแรงงานที่นายจ้างต้องการสูงที่สุด 10 อันดับแรกในปี 2020 ได้แก่ ดร.ไกรยส กล่าวว่า การปรับตัวของแต่ละประเทศตามที่เวิร์ดอีโคโนมิคฟอรั่มแนะนำมี 3 ระยะ ดังนี้ วันที่ : 27 ม.ค. 2559 ที่มา : http://www.tnnthailand.com อ่าน : 515 |
|
สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร |